บทที่ 2 บทเอกสาร

 บทที่ 2          

                        บทเอกสาร

ตะไคร้ (อังกฤษLemon grass, Oil grass

 ป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย

ส้ม
 เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrusวงศ์ Rutaceaeมีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาวมะกรูด
อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16ชนิดทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson)จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม
ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ ชนิด ด้วยกัน คือ
·         C. halimii – พบทางภาคใต้ของไทย และตะวันตกของมาเลเซีย อาจเป็นชนิดต้นกำเนิดของส้ม Poncirus และ Fortunella
·         C. medica – ส้มโอมือ หรือส้มมือ อาจเป็นต้นกำเนิดของมะนาว หรือเลมอน (lemon)
·         C. reticulata – อาจเป็นต้นกำเนิดของส้มจำพวกส้มเขียวหวานทั้งหลาย
·         C. maxima (หรือ C. grandis) – ส้มโอ น่าจะเป็นต้นกำเนิดของส้มในปัจจุบันบางชนิดเช่นกัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร   Plantae
ดิวิชั่น          Magnoliophy
ชั้น              Magnoliopsida
ชั้นย่อย       Rosidae
อันดับ        Sapindales
วงศ์           Rutaceae
สกุล          Citrus (L.) Osbeck

ขี้เลื่อย(อังกฤษSawdust or wood dust) เป็นผลพลอยได้จากการเลื่อยไม้ มีลักษณะเป็นผงไม้ละเอียด เป็นของเสียในโรงงานที่เป็นพิษ โดยเฉพาะการทำให้เกิดอาการอักเสบ แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายประการ
ขี้เลื่อยมีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบจำนวนมาก (เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน) ที่มีหมู่โพลีฟีนอลซึ่งสามารถจับกับโลหะหนักได้ด้วยกลไกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ขี้เลื่อยจากต้นพอบลาร์และต้นเฟอร์ที่ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมคาร์บอเนต ดูดซับทองแดงและสังกะสีได้ดี ขี้เลื่อยจากต้นมะพร้าวที่ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกดูดซับนิกเกิลและปรอทได้ [1]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น